2723 จำนวนผู้เข้าชม |
ไทยเจนท์ขอหยิบยกเรื่องการโหลด และการเลือกขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานมาฝากทุกคน
ในยามฉุกเฉินนั้น แน่นอนอยู่แล้วที่เราจะเลือกให้ความสำคัญในการสำรองไฟฟ้าของอุปกรณ์ที่จำเป็นก่อน เพราะในบางสถานการณ์ เราไม่สามารถสำรองไฟฟ้าให้กับทุกอุปกรณ์ในเวลาเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยทั่วไปแล้วเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่สามารถทำงานที่ full load ได้เป็นระยะเวลานานๆ ดังนั้นการเลือกขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงสำคัญมาก เราควรเลือกใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูงกว่าความต้องการที่เราจะใช้งานจริง เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน เครื่องปั่นไฟ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้งาน
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าส่วนมากจะผลิตกระแสไฟที่คล้ายกับไฟฟ้าที่เราใช้กันตามครัวเรือน จำนวนของพลังงานที่ถูกผลิตออกมาจะอยู่ในรูปแบบของ วัตต์ (watt)
ตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น DG8000LDE สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดที่ 6500 วัตต์ หมายความว่า ถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องนี้ใช้กับหลอดไฟ 100 วัตต์ 65 ดวงพร้อมกัน เครื่องจะทำงานเต็มกำลังหรือ full load
จากตัวอย่างที่แล้ว หลอดไฟคือ “การโหลด” ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น DG8000LDE ไม่สามารถโหลดไฟฟ้าได้มากกว่า 6500 วัตต์
หลอดไฟเป็นการโหลดประเภทความต้าน หรือ Resistive type load ซึ่งจะมีค่า Power Factor เป็นหนึ่ง นอกจากหลอดไฟแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท Resistive ได้แก่ เตารีดไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องทำกาแฟ เตาไฟฟ้า โทรทัศน์ หม้อหุงข้าว เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น Resistive load ส่วนใหญ่คืออุปกรณ์ที่ไม่มีมอเตอร์นั่นเอง การโหลดประเภทนี้จะเป็นการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน
การโหลดอีกประเภทนึงเรียกว่า ความเหนี่ยวนำ หรือ Inductive load type โดยทั่วไปแล้วการโหลดแบบ Inductive จะเป็นการโหลดของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอร์เตอร์ ในการสตาร์ทเครื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทนี้จะโหลดไฟมากถึง 3 เท่าของอัตราการกินไฟปกติ ตัวอย่างของอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทนี้ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง ปั๊มน้ำ เครื่องปั๊มลมไฟฟ้า เป็นต้น